วันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2554

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce)

     พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) หรืออีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) เริ่มขึ้นเมื่อประมาณต้นทศวรรษที่ 1970 โดยเริ่มจากการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงาย และในช่วงเริ่มต้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทใหญ่ๆ เท่านั้น บริษัทเล็กๆ มีจำนวนไม่มากนัก ต่อมาเมื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ Electronic Data Interchange-EDI) ได้แพร่หลายขึ้น ประกอบกับคอมพิวเตอร์พีซีได้มีการขยายเพิ่มอย่างรวดเร็วพร้อมกับการพัฒนาด้านอินเทอร์เน็ตและเว็บ ทำให้หน่วยงานและบุคคลต่าง ๆ ได้ใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น ในปัจจุบันพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้ครอบคลุมธุรกรรมหลายประเภท เช่น การโฆษณา การซื้อขายสินค้า การซื้อหุ้น การทำงาน การประมูล และการให้บริการลูกค้า

ความหมาย
     พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การทำธุรกรรมทุกรูปแบบโดยครอบคลุมถึงการซื้อขายสินค้า/บริการ การชำระเงิน การโฆษณาโดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทต่าง ๆ โดยเฉพาะเครือข่ายทางอินเทอร์เน็ต
 
กรอบแนวคิดของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 
 
     กรอบแนวคิดของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วย 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ 

• แอพพลิเคชั่นของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
• ปัจจัยทางการบริหาร
• โครงสร้างพื้นฐาน
• ประเภทสินค้าของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
 


 สำหรับสินค้าที่ซื้อขายในพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จำแนกได้ดังนี้
  • สินค้าที่มีลักษณะเป็นข้อมูลดิจิทัล (Digital Products)
  • สินค้าที่ไม่ใช่ข้อมูลดิจิทัล (Non-Digital Products) 
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มี 4 ประเภทหลัก ๆ คือ
  • ธุรกิจกับธุรกิจ (Business to Business หรือ B to B)
  • ธุรกิจและลูกค้า (Business to Consumers หรือ B to C))
  • ธุรกิจกับรัฐบาล (Business to Government หรือ B to G)
  • ลูกค้ากับลูกค้า (Consumers to Consumers หรือ C to C)
การทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบ B to B
      โมเดลของการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบ B to B มีหลายแบบ ที่สำคัญได้แก่ Seller oriented marketplace, และ Intermedialy-Oriented marketplace
  • Seller oriented marketplace
      ตามโมเดลนี้องค์การจะพยายามขายสินค้า/บริการของตนให้แก่องค์การอื่นผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์
  • Buyer-Oriented Marketplace
      โมเดลนี้มีจุดมุ่งหมายในการลดต้นทุนของสินค้าที่จะซื้อ หรือในตลาดที่มีการประมูลจากนั้นธุรกิจก็จะเสนอประมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยผ่านไปยังเครือข่ายอินทราเน็ตของผู้ซื้อประกาศผู้ที่สามารถประมูลไปได้
  • Intermedialy-Oriented marketplace โมเดลนี้เป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายโดยทำหน้าที่ในการสร้างตลาดขึ้นมา 
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบ B to C
แอพพลิเคชั่นของการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ แบบ B to C
  • ร้านค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Retailing)
  • การโฆษณา
  • แคตตาล็อกอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic catalog)
  • ธนาคารไซเบอร์ (Cyberbanking) หรือ Electronic banking หรือ Virtual bangking
  • ตลาดแรงงานออนไลน์ (Online job market)
  • การท่องเที่ยว
  • อสังหาริมทรัพย์
  • การประมูล (Auctions)
ขั้นตอนการซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ต
ขั้นตอนของการซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ตแบบ B to B มี 5 ขั้นตอน คือ

การค้นหาข้อมูล
  • การเลือกและการต่อรอง
  • การซื้อสินค้า/บริการทางอินเทอร์เน็ต
  • การจัดส่งสินค้า/บริการ
  • การบริการหลังการขาย
พฤติกรรมของลูกค้า
การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีลูกค้าอยู่ 2 ประเภท คือ
  • ตัวบุคคล
  • องค์การ
การวิจัยทางการตลาด
 การวิจัยทางการตลาดที่ต้องการหาแรงจูงในที่ ทำให้ลูกค้าซื้อสินค้า/ บริการบนอินเทอร์เน็ตมีความสำคัญมากขึ้นโมเดลในการทำวิจัย เพื่ออธิบายพฤติกรรมของลูกค้า
โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคนิค (Technical Infrastructure)
การทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต้องอาศัยฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์จำนวนมาก องค์ประกอบที่สำคัญ คือ เครือข่าย เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web server) การสนับสนุนเว็บเซิร์ฟเวอร์ และซอฟท์แวร์ที่ใช้ทำธุรกรรม และการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต

ระบบการจ่ายเงินอิเล็กทรอนิกส์
  • เช็คอิเล็กทรอนิกส์ (E-checks)
  • เครดิตการ์ดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic credit cards)
  • การจ่ายเงินสดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic cash หรือ Digital cash หรือ e-money)
  • การโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Fund Transfer-EFT)
การสนับสนุนการบริการอื่น ๆ ให้ลูกค้า
มีเครื่องมือหลายประเภทที่ให้บริการลูกค้าออนไลน์ได้ เช่น
  • เว็บเพจส่วนตัว (Personalized web Page)
  • ห้องสนทนา (Chat rooms)
  • อีเมล์ (E-mail)
  • FAQs (Frequent Answers and Questions)
  • ความสามารถในการติดตามงาน (Tracking Capabilities)
  • ศูนย์โทรศัพท์โดยใช้เว็บ (Web-based call centers)
การรักษาความปลอดภัย
ความต้องการการรักษาความปลอดภัย (security requirements)
  • ความสามารถในการระบุตัวตนได้ (Anthentication)
  • ความเป็นหนึ่งเดียวของข้อมูล (Integriry)
  • ความไม่สามารถปฏิเสธได้ (Non-repudiation)
  • สิทธิส่วนบุคคล  (Privacy)
  • ความปลอดภัย (Safety)
วิธีการรักษาความปลอดภัย
  • การใช้รหัส (Encryption)
  • ใบรับรองทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic certificate)
  • โปรโตคอล (Protocols)
ประโยชน์ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ประโยชน์ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีทั้งในระดับบุคคล องค์การ สังคม และระบบเศรษฐกิจ
  • ประโยชน์ต่อบุคคล
ประโยชน์ต่อองค์การ/ธุรกิจ
  • ประโยชน์ต่อสังคม
  • ประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจ
ข้อจำกัดเกี่ยวกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
  • ข้อจำกัดด้านเทคนิค
  • ข้อจำกัดด้านกฎหมาย
  • ข้อจำกัดด้ายเศรษฐกิจ
  • ข้อจำกัดด้านอื่น ๆ



วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ตัวอย่าง เว็บไซต์รูปแบบธุรกิจของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

  พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทธุรกิจกับธุรกิจ (Business-to-Business หรือ B2B) 

     หมายถึง  การซื้อขายระหว่างผู้ผลิตด้วยกัน  เช่น ผู้ผลิตรถยนต์สั่งซื้อวัตถุดิบจากโรงงานที่เป็น Supplier หรือ ร้านค้าปลีกสั่งซื้อสินค้ากับบริษัทผู้ผลิตสินค้า เมื่อสต็อกสินค้าลดลงถึงระดับหนึ่ง ผ่านระบบ EDI โดยส่วนใหญ่ผู้ซื้อและผู้ขายมักจะรู้จักกันล่วงหน้า และอาจทำเอกสารสัญญาที่เป็นกระดาษกันล่วงหน้า ดังนั้นความเสี่ยงที่เกิดจากการซื้อขายจะต่ำ



ตัวอย่างเว็บไซต์

www.micorsoft.com  ไมโครซอฟต์ เป็นบริษัทซอฟต์แวร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก  ผลิตซอฟต์แวร์ทั้งสำหรับบุคคลทั่วไปและโดยบริษัทห้างร้าน องค์กรต่างๆในการจัดอันดับโดยเน็ตมาร์เก็ตติงไมโครซอฟต์ได้คะแนนร้อยละ 97 เท่ากับอเมริกัน เอ็กซ์เพรส นับได้ว่าเป็นที่สอง รองจากทรีคอม (3com) ซึ่งได้คะแนนร้อยละ 98 เป็นที่หนึ่ง

 

www.cisco.com  เป็นบริษัทขายอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และอุปกรณ์ทางด้านเครือข่ายอื่นๆ โดยขายผ่านเว็บแบบธุรกิจต่อธุรกิจ ทำให้ยอดขายของซิสโคเพิ่มสูงขึ้นกว่าร้อยละ 20  ยอดขายของซิสโคได้มาจาก  การใช้สื่ออินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางการสื่อสารของตลาดธุรกิจต่อธุรกิจร้อยละ 92 ของการสั่งซื้อสินค้าซิสโค เกิดจากการสั่งซื้อผ่านอินเทอร์เน็ตและการบริการลูกค้ากว่าร้อยละ 80 มาจากการขอใช้บริการผ่านซิสโคออนไลน์



พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทธุรกิจกับธุรกิจ Click and Motar 

       หมายถึง  รูปแบบของการทำ e-commerce ที่มีรูปแบบการผสมผสานระหว่างผู้ที่มีธุรกิจร้านค้าหรือมีบริษัท เปิดให้บริการทำการค้าจริงๆ และมีเว็บไซต์เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการขาย

ตัวอย่างเว็บไซต์


www.se-ed.com เป็นเว็บไซต์ของร้านซีเอ็ดที่มีหน้าร้านขายจริงๆ อยู่แล้ว ทำธุรกิจเกี่ยวกับขายหนังสือที่น่าสนในมากมาย


www.baanceladon.com เป็นเว็บไซต์ทำดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับสินค้าด้านหัตถกรรม เครื่องปั้นดินเผา  เครื่องสังคโลก ส่งออกไปทั่วโลก


พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทธุรกิจกับธุรกิจ Click and Click 
    หมายถึง  การทำ e-commerce ที่มีรูปแบบการค้าขายหรือให้บริการผ่านทางเว็บไซต์และอินเทอร์เน็ตเพียงช่องทางเดียวเท่านั้น ไม่มีธุรกิจหรือร้านค้าจริงๆ ที่ให้คนสามารถไปซื้อหรือรับสินค้าหน้าร้านได้
ตัวอย่างเว็บไซต์

www.tarad.com เป็นเว็บไซต์ทำธุรกิจเกี่ยวกับขายสินค้าทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ แฟชั่น ฯลฯ เป็นต้น



www.flowerclick.net เป็นเว็บไซต์ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับร้านดอกไม้ออนไลน์ บริการส่งดอกไม้ มีทั้งดอกไม้สด กระเช้าดอกไม้ แจกันดอกไม้

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทธุรกิจกับบริโภค (Business-to-Consumer หรือ B2C) 
        หมายถึง การที่ธุรกิจขายสินค้าหรือบริการโดยตรงให้กับผู้บริโภค ช่องทางนี้เป็นช่องทางที่ผู้ผลิตขนาดกลางและขนาดเล็กสามารถฉกฉวยเป็นโอกาสในการต่อสู้กับบริษัทขนาดใหญ่ได้

ตัวอย่างเว็บไซต์
www.amazon.com  เป็นบริษัทผู้ขายปลีกสินค้าผ่านเว็บไซต์เริ่มจากการขายหนังสือจนเป็นร้านหนังสือที่ใหญ่ที่สุดในโลก  ปัจจุบันเป็นร้านขายของและขายหนังสือที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีหนังสือมากมายให้เลือกสรร  มีเว็บในประเทศต่างๆ อาทิ
    1) อเมริกา (
www.amazon.com)
    2)
อังกฤษ
(www.amazon.co.uk)
    3)
เยอรมัน (
www.amazon.de)
    4)
ฝรั่งเศส
(www.amazon.fr)
    5)
ญี่ปุ่น (
www.amazon.co.jp)
    6)
แคนาดา (http://www.amazon.ca/)


www.thaiair.com ซึ่งเป็นลักษณะแบบ B2C โดยเป็นการจองตั๋วเครื่องบินของบริษัทการบินไทย อีกทั้งมีบริการวางแผนการเดินทาง จัด packet ทัวร์ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าเป็นบริษัทที่มีความมั่นคง


 
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทธุรกิจกับธุรกิจ Customer – to – Customer : C2C

ตัวอย่างเว็บไซต์

www.ebay.com  เป็นแหล่งที่ผู้ขายมาเสนอขาย และผู้ซื้อประมูลซื้อแข่งกันผู้ซื้อและผู้ขายติดต่อกันผ่านอีเมล์


www.pantipmarket.com ซึ่งเป็นลักษณะแบบ C2C โดยเป็นการประกาศขายสินค้า โดยมีเว็บไซต์ เป็นตัวกลาง ซึ่งเว็บไซต์ นี้เป็นเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือของคนไทยและ มีความปลอดภัยมั่นคงในการสมัครสมาชิกโดยการลงทะเบียนต้องแนบสำเนาบัตรประชาชนแสกน ส่งไปเพื่อทำการลงทะเบียน 


      หมายถึง  รูปแบบการซื้อขาย สินค้าระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค เช่นการประกาศขายสินค้าใช้แล้ว เป็นต้น

ข้อจำกัดของการค้าแบบออนไลน์ E-Commerce

1.  ความไม่ปลอดภัยของข้อมูล ขาดการตรวจสอบการใช้บัตรเครดิตบน Internet ข้อมูลบนบัตรเครดิตอาจถูกดักฟังหรืออ่าน เพื่อเอาชื่อและหมายเลขบัตรเครดิตไปใช้โดยที่เจ้าของบัตรเครดิตไม่รู้ได้ การส่งข้อมูลจึงต้องมีการพัฒนาวิธีการเข้ารหัสที่ซับซ้อนหลายขั้นตอน เพื่อให้ข้อมูลของลูกค้าได้รับความปลอดภัยสูงสุด
2.  ประเทศไทยยังไม่มีธนาคารพาณิชย์ที่จะทำหน้าที่รับประกันความเสี่ยง สำหรับการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ในปัจจุบันการชำระเงินยังต้องผ่านธนาคารที่เป็นของต่างประเทศ
3.  ผู้ซื้อไม่มั่นใจเรื่องการเก็บรักษาความลับทางธุรกิจ ข้อมูลส่วนบุคคลเช่น ไม่มั่นใจว่าจะมีผู้นำหมายเลขบัตรเครดิตไปใช้ประโยชน์ในทางที่มิชอบหรือไม่
4.  ผู้ขายไม่มั่นใจว่าลูกค้ามีตัวตนอยู่จริง จะเป็นบุคคลเดียวกับที่แจ้งสั่งซื้อสินค้าหรือไม่ มีความสามารถในการที่จะจ่ายสินค้าและบริการหรือไม่ และไม่มั่นใจว่าการทำสัญญาซื้อขายผ่านระบบ Internet
จะมีผลถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่
5. 
ปัญหาที่เกิดกับงานด้านกฎหมายและลายเซ็น ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเฉพาะที่จะกำกับดูแลการทำนิติกรรม การทำการซื้อขายผ่านทางการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ประโยชน์ของการค้้าแบบออนไลน์ (E-commerce)

ประโยชน์ของการค้้าแบบออนไลน์ (E-commerce)

 1. ทำให้ลูกค้ามีทางเลือกที่มากขึ้น
 2. ทำให้ลูกค้าสามารถทราบข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการได้ในเวลาที่รวดเร็ว
 3. ทำให้ผู้ประกอบไม่ต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในเรื่องของการเช่าสถานที่
 4. ทำให้เป็นการขยายธุรกิจให้กว้างกว่าเดิม
 5. ทำให้ลูกค้าประหยัดระยะเวลาในการเดินทางมาเลือกสินค้าที่ร้านค้า

วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2554

1. เทคนิคในการเลื่อนดู หน้า Web Page อย่างรวดเร็ว

เราสามารถใช้ปุ่ม Home บนแป้น คีย์บอร์ด หรือ ปุ่ม End  แทนการลากเมาส์ เพื่อเป็นการเลื่อนดู หน้า Web Page ด้านบนสุดและด้านล่างสุด

2. เทคนิคการใช้ปุ่มบนแป้น Keyboard ในการเลื่อนหน้า Web Page

เราสามารถใช้ปุ่ม Page Up หรือ Page Down ที่ แป้น Keyboard เลื่อนดู ในหน้า Web Page ทีละส่วน แทนการใช้เมาส์ เลื่อนได้